วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วัฏจักรการเกิดฝน

วัฏจักรของน้ำ

  ไอน้ำ ซึ่งมีสถานะเป็นแก๊สเป็นส่วนประกอบสำคัญของอากาศ ที่ทำให้สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อไอน้ำในอากาศเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำเล็กๆ โดยมีฝุ่นละอองเป็นแกนกลางลอยอยู่ในระดับต่ำ เรียกว่า หมอก แต่ถ้าไอน้ำเกิดการควบแน่นลอยอยู่ในระดับสูงเรียกว่า เมฆ และหากละอองน้ำในเมฆรวมตัวกันจนเป็นหยดน้ำขนาดใหญ่เกินกว่าที่อากาศจะรับไว้ได้จะตกลงมา เรียกว่า ฝน ส่วนไอน้ำที่เกิดจากการที่อุณหภูมิของอากาศลดต่ำลงตั้งแต่ตอนกลางคืนจนถึงเช้ามืด จนไอน้ำในอากาศเกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ตามบริเวณต่างๆ ใกล้ผิวโลก เช่น ตามใบไม้, ใบหญ้า เราเรียกว่า น้ำค้าง โดยที่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรและมีผลต่อสภาพอากาศบนโลกและในบางครั้งเราเรียกปรากฏการณ์ธรรมชาติของฝน, หิมะ และลูกเห็บว่าเป็นหยาดน้ำฟ้า คือการที่น้ำที่อยู่บนฟ้าในสถานะต่างๆ ตกลงมาบนพื้นโลก ส่วนหมอก, น้ำค้าง และน้ำค้างแข็งไม่ใช่หยาดน้ำฟ้า เพราะไม่ได้ตกลงมาจากบรรยากาศในระดับสูงนอกจากฝนจะเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติแล้ว มนุษย์เราสามารถทำฝนเทียมได้ด้วย โดยที่ฝนเทียมสามารถทำได้หลายวิธี สำหรับประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อน ทำฝนเทียมได้โดยใช้สารเคมี เช่น ผงโซเดียมคอลไรด์ผสมกับผงแคลเซียมคลอไรด์ แล้วนำไปโปรยในอากาศเพื่อให้สารเคมีนี้ทำหน้าที่เป็นแกนให้ไอน้ำมาจับเกาะกันเป็นหยดน้ำที่มีน้ำหนักมากพอที่จะตกลงมาเป็นฝน

2 ความคิดเห็น: